ยินดีต้อนรับสู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติความเป็นมาของ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ

ในปี พ.ศ.2538  เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้การบริหารงานของอดีตอธิการบดี รังสรรค์  แสนสุข ที่ได้มองเห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 8 ที่เน้น การพัฒนาคนเป็นสำคัญจึงได้มีความคิดในการที่จะนำโอกาสด้านการศึกษาไปสู่ ภูมิภาคและชนบท และเพื่อเป็นการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับประชาชนผู้ด้อย โอกาสที่อยู่ห่างไกลในส่วนภูมิภาค จึงได้จัดทำ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ เฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาคให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติครบ 50 ปี อีกทั้งเพื่อสอดคล้องกับพระราช ปณิธานและพระราชจริยวัตรของพระองค์ที่ทรงมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนทุกหมู่เหล่า
                5 มีนาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดอำนาจเจริญ จัดประชุม กรอ. จังหวัด โดยมีนายชาติสง่า  โมฬีชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด (ในขณะนั้น)  นายสุทัศน์  เงินหมื่น  นพ.ชัยพร  ทองประเสริฐ  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร       รศ.รังสรรค์  แสงสุข  อธิการบดี เข้าร่วมประชุม และได้เสนอความคิดในการจัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ ในปีการศึกษา 2539 สำหรับงบประมาณจะใช้จากงบบริจาคงบสมทบของ ส.ส. อีกส่วนหนึ่งขอความร่วมมือจากสภาจังหวัด นอกจากนั้นจะเป็นงบเสริมจากมหาวิทยาลัย
                28 มีนาคม ปี พ.ศ. 2538  จังหวัดมีมติเห็นชอบให้จัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ ขึ้นที่ศูนย์ราชการ จังหวัดอำนาจเจริญ ศูนย์ที่สอง (ดงสีบู)
                4 เมษายน ปี พ.ศ. 2538 จังหวัดมีโครงการฯ ไปยังมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อพิจารณา
                31 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2538 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอบขอบคุณทางจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ให้การสนับสนุนและเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยแต่งตั้งให้ ผศ.เฉลิมชัย ผิวเรืองนนท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ เป็นผู้ประสานงานระหว่างจังหวัดอำนาจเจริญ และมหาวิทยาลัย รามคำแหงร่วมกับ อาจารย์สุนันทา  เตชะมา และอาจารย์สุนิดา ศิริมังคละ เป็นผู้ช่วยและในปี พ.ศ. 2541 อธิการบดีได้มีการแต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการฯ จังหวัดอำนาจเจริญ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2541 – 2543         ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย   ผิวเรืองนนท์
ปี พ.ศ. 2543 – 2545         รองศาสตราจารย์มรกต   ศรีจรุณรัตน์
ปี พ.ศ. 2546 – 2549         รองศาสตราจารย์กฤช   ภูริสินสิทธิ์
ปี พ.ศ. 2550 – 2550         รองศาสตราจารย์ประเสริฐ   ตันศิริ (รักษาราชการแทน)
ปี พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน     รองศาสตราจารย์กฤช   ภูริสินสิทธิ์

ปรัชญา  ปณิธาน และวัตถุประสงค์
                สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญได้กำหนด ปรัชญา ปณิธาน และวัตถุประสงค์ ไว้ดังต่อไปนี้
                ปรัชญา
                จากปรัชญาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ “ขยายโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชนชาวไทย” สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ ได้กำหนดปรัชญาเพื่อการใช้เป็นอุดมการณ์ในการดำเนินภารกิจในฐานะหน่วยงานด้านการศึกษา และเพื่อเสริมให้สอดคล้องกับปรัชญาปณิธาน และพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ปรัชญาของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ คือ
“บริการดี วิชาการเด่น เน้นพัฒนาความรู้สู่ชุมชน”
                ปณิธาน
                1.มุ่งบริการการเรียนการสอนจากส่วนกลางมาสู่ส่วนภูมิภาค
                2.มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาชุมชน
                3.มุ่งบริการงานวิชาการเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น

                วัตถุประสงค์
                1.เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจ
                2.ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
3.เพื่อสนองภารกิจของมหาวอทยาลัยในการบริการแก่สังคม โดยการประสานกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในการจัดอบรมส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้รับความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญยิ่งขึ้นไป

  วิสัยทัศน์/พันธกิจ/นโยบาย
                                วิสัยทัศน์ (Vision)
                                สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอำนาจเจริญ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรมมีความเป็นผู้นำเพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืน สนับสนุนการศึกษาขยายโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันทางการศึกษา
                                พันธกิจ (Mission)
                                1.ด้านการจัดการศึกษา ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
                                2.ด้านการวิจัย พัฒนาการบริหาร การดำเนินงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานให้มีประสิทธิภาพ
                                3.ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม ขยายขอบเขตและรูปแบบของการบริการวิชาการไปสู่สังคมเมืองและชุมชน ให้สามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต การงานและรักษาสภาพแวดล้อม อันเกิดจากการร่วมสร้างและใช้ประโยชน์จากสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถชี้นำและเป็นที่พึ่ง ของสังคมได้ ทั้งในด้านความรู้คู่คุณธรรม
                                4.ด้านบริหารจัดการ พัฒนาปรับปรุงระบบการบริหารการจัดการของสาขาวิทยบริการฯ  ให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยคล่องตัว และโปร่งใสตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                5.ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
                             ได้ดำเนินกิจกรรมและปลูกฝังให้นักศึกษาและบุคลากรตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้มีการผสมผสานกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมเข้ากับภารกิจด้านอื่นๆ มุ่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เพื่อบทบาทของสาขาในขอบเขต ที่กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นรูปธรรม